การฆ่าเชื้อโรคสำหรับสระว่ายน้ำระบบเกลือ

การฆ่าเชื้อโรคสำหรับสระว่ายน้ำระบบเกลือ การฆ่าเชื้อโรคสำหรับสระว่ายน้ำระบบเกลือ รู้หรือไม่ สระว่ายน้ำระบบเกลือ มีการทำงานในการฆ่าเชื้อโรคอย่างไร?
อย่างที่ทราบกันว่า สระว่ายน้ำระบบเกลือ เป็นระบบการฆ่าเชื้อโรคที่ปลอดภัยมาก เป็นระบบที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในต่างประเทศ หลังจากเริ่มถูกนำมาใช้แทนคลอรีนแบบเดิม

ซึ่งโดยทั่วไปมีการใช้คลอรีนแบบดั้งเดิม หรือการเติมคลอรีนที่เป็นเคมีกันมากกว่า 90% ในสระว่ายน้ำในประเทศไทย ทั้งที่การใช้คลอรีนนั้นมีผลเสียมากกว่าการใช้ระบบน้ำเกลือ ดังนั้นจึงได้มีระบบเกลือที่เข้ามาทดแทน เพื่อช่วยให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น จึงต้องมีการศึกษาระบบเกลือกันอย่างจริงจัง เพื่อให้รู้จักระบบเกลือมากยิ่งขึ้น

อย่างที่เราเคยได้กล่าวไว้ในบทความครั้งก่อนๆ ว่า ระบบฆ่าเชื้อโรคด้วยระบบเกลือ เป็นระบบที่สร้างคลอรีนจากเกลือบริสุทธิ์ โดยกระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้าลงไปในสารละลายเกลือที่เรียกว่า Electrolysis

โดยการผ่านกระแสไฟฟ้าจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง เพื่อที่จะสลายพันธะของเกลือและทำการสร้างคลอรีน (Sodium Hypochlorite) เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ และเนื่องจากคลอรีนที่ได้จากเกลือนั้น มีความเป็นธรรมชาติ จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ที่มาใช้สระว่ายน้ำนั่นเอง

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
        ก่อนจะจากกันไป ในเมื่อเราได้กล่าวกันถึงเรื่องของการกำจัดเจ้า เจ้าแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในสระว่ายน้ำ ก็เลยขอหยิบยกเรื่องของปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียมาฝากเพิ่มเติม

ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดแบคทีเรียขึ้นในสระว่ายน้ำ มีอะไรบ้าง?

1. อุณหภูมิ
โดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งแบคทีเรียออกได้เป็น 3 ประเภท ตามความแตกต่างของอุณหภูมิ
– Psychrophiles สามารถเจริญได้ดีในอุณหภูมิ 0C หรือต่ำกว่า
– Mesophiles เจริญได้ดีในอุณหภูมิ 25C – 40C
– Thermophiles เจริญได้ในอุณหภูมิ 45C – 60C

2. ความต้องการออกซิเจน
เราสามารถแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตออกเป็นดังนี้
– แอโรบิคแบคทีเรีย (Aerobic Bacteria) คือพวกที่เจริญได้ในระบบนิเวศที่มีออกซิเจน
– แอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Anaerobic Bacteria) คือ พวกที่เจริญได้ในระบบนิเวศที่ไม่มีออกซิเจน
– แฟคัลเททีฟ แอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Facultative anaerobic bacteria) คือพวกที่เจริญได้ทั้งในระบบนิเวศที่มีออกซิเจน และไม่มีออกซิเจน
– ไมโครแอโรฟิลิค แบคทีเรีย (Microaerophilic Bacteria) เจริญในระบบนิเวศที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อย

3. สภาพความเป็นกรด – ด่าง
แบคทีเรียส่วนมากมักจะเจริญได้ดีในช่วงของ pH ที่มีค่าประมาณ 6.5 – 7.5 เช่นจำพวก รา หรือ ยีสต์ ส่วนมากพวกนี้จะมีความทนต่อกรดได้ดีในช่วง pH ประมาณ 5

4. ความชื้น
แบคทีเรียส่วนใหญ่ต้องการความชื้น เนื่องจากการใช้อาหารในรูปของสารละลาย แบคทีเรียบางอย่างทนต่อความแห้งแล้งได้ดี เช่น Tubercle bacilli และ Staphylococcus aureus. พวกที่มีสปอร์ก็ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี

5. แสงสว่าง
แบคทีเรียทั่วไปไม่ต้องการแสงในการเจริญเติบโต ยกเว้นแบคทีเรียพวกที่สังเคราะห์แสงได้เท่านั้นที่ต้องการแสงในการเจริญเติบโต

6. เสียงความถี่ของเสียงสูง ๆ ทำให้เซลล์ของแบคทีเรียแตกได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับบทความในครั้งนี้ เนื่องมาจากว่าในปัจจุบัน ทางเรื่องเพื่อสุขภาพ กำลังเป็นที่นิยม และข้อเสียของระบบการฆ่าเชื้อโรคโดยใช้คลอรีนแบบเคมี จนทำให้ระบบเกลือนั้นเกิดการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มศึกษาหาข้อมูลกันอย่างมาก และในครั้งนี้ก็หวังว่า หลายๆคนคนได้รู้จกกับการทำงานของระบบเกลือกันมากยิ่งขึ้น และพบกันในบทความครั้งต่อไปนะครับ

เครดิต Engineering Of Rangsit University

 

 

ติดต่อสอบถามขอมูลเพิ่มเติมทางไลน์เลือกซื้อสินค้า


หากสนใจสั่งซื้อ อุปกรณ์สระว่ายน้ำ
 สามารถติดต่อ เวิลด์พูลส์ ดีเวลล็อปเมนท์ ผู้นําด้านการจําหน่าย อุปกรณ์สระว่ายน้ำทุกยี่ห้อ Emaux , Astral Pool, Hayward , Raion , Jacuzzi , Kripsol , Pool & Spa , Dolphin ด้วยความหลากหลาย Brand ของสินค้าและแต่ละประเภทของสินค้า ถังกรองสระว่ายน้ำ ปั๊มสระว่ายน้ำ เครื่องเกลือสระว่ายน้ำ ไฟใต้น้ำ Fitting อุปกรณ์ทำความสะอาดสระว่ายน้ำ เครื่องดูดตะกอนอัตโนมัติ และ เคมีสระว่ายน้ำ คลอรีน 90 % คลอรีน 70 % น้ำยากำจัดตะไคร่น้ำ Swimtrine Pooltrine  สารตกตะกอน ทำให้น้ำสระว่ายน้ำใส  สารพัดด้านเคมี เวิลด์พูลส์ ดีเวลล็อปเมนท์ พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน

 

บริษัท เวิลด์พูลส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด