มาทำความรู้จักสระว่ายน้ำระบบเกลือกัน

การฆ่าเชื้อโรคสำหรับสระว่ายน้ำนั้น นอกจากการใช้คลอรีนแล้ว ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้ระบบอื่นฯ เกิดขึ้นมากมาย ที่ไม่ใช่แค่ฆ่าเชื้อโรคเพื่อให้น้ำใสสะอาดเท่านั้น แต่ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเราอีกด้วย และในครั้งนี้เราจะพาไปรู้จักกับหนึ่งในระบบฆ่าเชื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลผลเสียหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระหว่างที่ว่ายน้ำ และยังเป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน นั่นก็คือ สระว่ายน้ำระบบเกลือ นั่นเอง

สระว่ายน้ำระบบเกลือ คืออะไร ?

สระว่ายน้ำระบบเกลือ นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เข้ามาทดแทนการใช้คลอรีนแบบดั้งเดิม สำหรับระบบฆ่าเชื้อประเภทนี้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้เติมคลอรีนลงในสระ ตรงๆก็ตาม แต่ก็ยังสามารถสร้างคลอรีนมาเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้ด้วยการเติมเกลือบริสุทธิ์ลงไปแทนนั่นเอง แล้วมันฆ่าเชื้อโรคได้อย่างไร ? หลาย ๆ คนคงกำลังสงสัย ดังนั้นเราไปทำความรู้จักระบบเกลือให้มากขึ้นกันดีกว่า

กระบวนการฆ่าเชื้อโรคของ สระว่ายน้ำระบบเกลือ ทำงานอย่างไร ?

สระว่ายน้ำระบบเกลือ นั้นจะใช้การกำจัดเชื้อโรค โดยใช้อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่จะทำหน้าที่ช่วยเปลี่ยนเกลือในสระว่ายน้ำ ให้กลายเป็นคลอรีน นั่นก็คือ เครื่องผลิตคลอรีนจากเกลือ (Salt Chlorinator) หรือที่เรียกกันว่าเครื่องแปลงเกลือนั่นเอง เช่นยี่ห้อ เครื่องเกลือ “Viron”Astral pool , เครื่องผลิตคลอรีนจากเกลือ EMAUX SSC

ด้วยกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) ของเครื่องผลิตคลอรีนจากเกลือ ซึ่งเป็นการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในสารละลายเกลือ จากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง เพื่อที่จะสลายพันธะของเกลือ และทำการสร้างคลอรีน (Sodium Hypochlorite) ออกมา ที่มีคุณสมบัติในการกำจัด แบคทีเรีย และตะไคร่น้ำในสระว่ายน้ำให้กับคุณ

แล้วทำไมคลอรีนจากสระว่ายน้ำระบบเกลือถึงไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ?

จากข้อมูลทางด้านบนที่กล่าวมา จะเห็นว่าสิ่งที่เราใช้เปลี่ยนเป็นคลอรีนสำหรับระบบนี้ก็คือ เกลือบริสุทธิ์นั่นเอง ซึ่งแน่นอนครับ คลอรีนที่ได้ออกมาจะมีความเป็นธรรมชาติ ที่จะมีคุณสมบัติเป็นด่างอ่อน ๆ เท่านั้นจึงทำให้มีความระคายเคืองต่อผิว เส้นผม และดวงตาน้อยกว่าคลอรีนที่เป็นเคมีอย่างมาก

น้ำในสระว่ายน้ำระบบเกลือจะเค็มมากไหม ?

หากคุณกังวลว่าน้ำจะเค็มเหมือนกับน้ำทะเล คุณไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะว่าน้ำใน สระว่ายน้ำระบบเกลือ นั้นจะมีความเค็มประมาณ 3,000 ppm เท่านั้นเอง หากเมื่อลองเทียบกับความเข้มข้นของน้ำในมหาสมุทร ที่มี หรือความเข้มข้นของเกลือถึง 35,000 ppm จะเห็นว่าน้อยกว่าตั้ง 10 เท่า ดังนั้นไม่เค็มเท่าน้ำทะเลแน่นอนครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับ กับบทความที่นำมาฝากกัน อาจจะช่วยให้ได้รู้จักกับระบบสระว่ายน้ำกันมากยิ่งขึ้น แต่ถึงแม้ สระว่ายน้ำระบบเกลือ จะได้รับความนิยม และแพร่หลายมากในปัจจุบัน แต่หากไม่คอยหมั่นดูแล ควบคุมค่าทางเคมีต่าง ๆ ของน้ำในสระว่ายน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็อาจก่อให้เกิดความระคายเคือง และอันตรายแก่ผู้ใช้สระได้เช่นกัน

 รู้หรือไม่ สระว่ายน้ำระบบเกลือ มีการทำงานในการฆ่าเชื้อโรคอย่างไร?

อย่างที่ทราบกันว่า สระว่ายน้ำระบบเกลือ เป็นระบบการฆ่าเชื้อโรคที่ปลอดภัยมาก เป็นระบบที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในต่างประเทศ หลังจากเริ่มถูกนำมาใช้แทนคลอรีนแบบเดิม

ซึ่งโดยทั่วไปมีการใช้คลอรีนแบบดั้งเดิม หรือการเติมคลอรีนที่เป็นเคมีกันมากกว่า 90% ในสระว่ายน้ำในประเทศไทย ทั้งที่การใช้คลอรีนนั้นมีผลเสียมากกว่าการใช้ระบบน้ำเกลือ ดังนั้นจึงได้มีระบบเกลือที่เข้ามาทดแทน เพื่อช่วยให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น จึงต้องมีการศึกษาระบบเกลือกันอย่างจริงจัง เพื่อให้รู้จักระบบเกลือมากยิ่งขึ้น

อย่างที่เราเคยได้กล่าวไว้ในบทความครั้งก่อนๆ ว่า ระบบฆ่าเชื้อโรคด้วยระบบเกลือ เป็นระบบที่สร้างคลอรีนจากเกลือบริสุทธิ์ โดยกระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้าลงไปในสารละลายเกลือที่เรียกว่า Electrolysis

โดยการผ่านกระแสไฟฟ้าจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง เพื่อที่จะสลายพันธะของเกลือและทำการสร้างคลอรีน (Sodium Hypochlorite) เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ และเนื่องจากคลอรีนที่ได้จากเกลือนั้น มีความเป็นธรรมชาติ จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ที่มาใช้สระว่ายน้ำนั่นเอง

กระบวนการทำงานของระบบเกลือ

วันนี้เดี๋ยวเราจะไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ กระบวนการทำงานของ สระว่ายน้ำระบบเกลือ กันให้มากขึ้น กันดีกว่าครับ ระบบเกลือนั้นมีขั้นตอนอยู่ 3 ขั้นตอน

  1. ขั้นตอนการเติมเกลือ (Salt Addition)

    ขั้นตอนนี้เริ่มต้นเมื่อเราเติมเกลือลงไปในสระว่ายน้ำ สำหรับการเติมเกลือนั้นอาจจะเติมลงในสระว่ายน้ำโดยตรง จากนั้นเมื่อเกลือที่เติมลงไป ก็จะไปผสมเข้ากับน้ำแล้ว จากนั้นโมเลกุลของน้ำเกลือก็จะแตกตัวออก แล้วกลายเป็นไออน ของโซเดียม (Na+) และคลอรีน (Cl-) และจะละลายอยู่ในโมเลกุลของน้ำ

NaCl   +   H2O     →     Na+   +   Cl-   +   H2O

  1. ขั้นตอนการผลิตคลอรีน (Chlorine Production)

    หลังจากที่ไอออนของโซเดียม (Na+) และคลอรีน (Cl-) เริ่มแตกตัวในน้ำในปริมาณที่มากพอ (ประมาณ 2,700 – 4,000 PPM) ไอออนทั้งสองก็จะเริ่มทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของน้ำ โดยจะมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านเซลล์ของระบบเกลือ (Salt Calorinator Cell) ที่เรียกว่า กระบวนการ Electrolysis เพื่อเร่งปฏิกิริยาทำให้เกิดเป็นก๊าซคลอรีน (Cl2) ก๊าซไฮโดรเจน (H2) และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)

NaCl   +   H2O     →     Cl2   +   H2   +   2NaOH

        จากนั้น ก๊าซคลอรีน (Cl2) จะทำปฏิกิริยากับโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ทำให้เกิดเป็นสารประกอบคลอรีนที่มีชื่อว่า Sodium Hypochlorite (NaOCI) หรือก็คือสารฆ่าเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่มีค่า pH ประมาณ 11 และมีส่วนประกอบคลอรีน ประมาณ 10 – 12% รวมทั้งกลับกลายเป็นเกลือตามเดิม

Cl 2    + 2NaOH → NaOCl + NaCl + H 2 O

        ซึ่งถ้าสังเกตจากสมการ จะพบว่า เมื่อเกิดเป็นโซเดียมไฮโปรคลอไรต์ (NaOCl) แล้ว จะเห็นได้ว่ามีเกลือเกิดขึ้นมา แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความเป็นพิษ หรืออันตรายเหมือนการใช้คลอรีนแบบเดิม ซึ่งอาจจะมีสารก่อมะเร็งอยู่ก็เป็นได้

  1.        ขั้นตอนการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection)

    เมื่อได้สารประกอบคลอรีนแล้ว มันก็ถึงเวลาที่จะเริ่มทำการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งส่วนใหญ่ที่จะถูกกำจัดออกไปมักจะเป็นพวกสารอินทรีย์ที่มีธาตุคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ แล้วก็จะเกิดปฏิกิริยากลายเป็นเกลือ (NaCl ) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2)

สารประกอบคาร์บอน   +   NaOCl     →     CO2   +   NaCl

        นอกจากนี้เจ้าโซเดียมไฮโปรคลอไรต์ ยังไปเกิดปฏิกิริยากับน้ำจนทำให้กลายเป็นกรดไฮโปรคลอรัส (HOCl) ซึ่งเจ้ากรดตัวนี้นั่นเอง ที่เป็นสารที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สาหร่าย นั่นเองครับ

NaOCl + H 2 O → HOCl + NaOH

        และในบางครั้ง ในสภาวะที่เหมาะสม ยังสามารถแตกตัวเป็นไฮโปรคลอไรต์ไอออน (OCl) ซึ่งก็เป็นตัวที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคเช่นเดียวกันกับกรดไฮโปรคลอรัส (HOCl) เพียงแต่จะมีประสิทธิภาพในการฆ่าที่ด้อยกว่ากรดไฮโปรคลอรัส

HOCl → OCl + H+

        โดยส่วนมากสระว่ายน้ำใหม่ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงหลังๆ มักพบว่ามีการใช้ระบบเกลือในการฆ่าเชื้อโรคมากขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากข้อเสียของระบบการฆ่าเชื้อโรคโดยใช้คลอรีนแบบเดิม ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และกลิ่นยังไปสร้างความรำคาญหรืออาการแสบจมูกซึ่งบางคนไม่ชอบ จนทำให้ระบบเกลือนั้นเกิดการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นนั่นเองครับ

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

ก่อนจะจากกันไป ในเมื่อเราได้กล่าวกันถึงเรื่องของการกำจัดเจ้า เจ้าแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในสระว่ายน้ำ ก็เลยขอหยิบยกเรื่องของปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียมาฝากเพิ่มเติม

ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดแบคทีเรียขึ้นในสระว่ายน้ำ มีอะไรบ้าง?

  1. อุณหภูมิ

    โดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งแบคทีเรียออกได้เป็น 3 ประเภท ตามความแตกต่างของอุณหภูมิ
    – Psychrophiles สามารถเจริญได้ดีในอุณหภูมิ 0C หรือต่ำกว่า
    – Mesophiles เจริญได้ดีในอุณหภูมิ 25C – 40C
    – Thermophiles เจริญได้ในอุณหภูมิ 45C – 60C

  2. ความต้องการออกซิเจน

    เราสามารถแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตออกเป็นดังนี้
    – แอโรบิคแบคทีเรีย (Aerobic Bacteria) คือพวกที่เจริญได้ในระบบนิเวศที่มีออกซิเจน
    – แอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Anaerobic Bacteria) คือ พวกที่เจริญได้ในระบบนิเวศที่ไม่มีออกซิเจน
    – แฟคัลเททีฟ แอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Facultative anaerobic bacteria) คือพวกที่เจริญได้ทั้งในระบบนิเวศที่มีออกซิเจน และไม่มีออกซิเจน
    – ไมโครแอโรฟิลิค แบคทีเรีย (Microaerophilic Bacteria) เจริญในระบบนิเวศที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อย

  3. สภาพความเป็นกรด – ด่าง

    แบคทีเรียส่วนมากมักจะเจริญได้ดีในช่วงของ pH ที่มีค่าประมาณ 6.5 – 7.5 เช่นจำพวก รา หรือ ยีสต์ ส่วนมากพวกนี้จะมีความทนต่อกรดได้ดีในช่วง pH ประมาณ 5

  4. ความชื้น

    แบคทีเรียส่วนใหญ่ต้องการความชื้น เนื่องจากการใช้อาหารในรูปของสารละลาย แบคทีเรียบางอย่างทนต่อความแห้งแล้งได้ดี เช่น Tubercle bacilli และ Staphylococcus aureus. พวกที่มีสปอร์ก็ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี

  5. แสงสว่าง

    แบคทีเรียทั่วไปไม่ต้องการแสงในการเจริญเติบโต ยกเว้นแบคทีเรียพวกที่สังเคราะห์แสงได้เท่านั้นที่ต้องการแสงในการเจริญเติบโต

  6. เสียงความถี่ของเสียงสูง ๆ ทำให้เซลล์ของแบคทีเรียแตกได้

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเลือกใช้ ระบบเกลือมีอะไรบ้าง ?

หากเปรียบเทียบ สระว่ายน้ำระบบเกลือ กับสระว่ายน้ำคอลรีนแบบดั้งเดิม จะมีข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่

  1. ช่วยให้คุณประหยัด ค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้มากกว่าถึงแม้ว่า สระว่ายน้ำระบบเกลือจะมีต้นทุน ในเบื้องต้นที่มากกว่า แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง มันจะช่วยให้คุณประหยัดได้มากขึ้น เพราะคุณไม่จำเป็นต้องเติมเกลือบ่อย เหมือนการเติมคลอรีน เนื่องจากเกลือที่เติมลงไปจะไม่สูญหายไปไหน จะวนอยู่ในระบบนั่นเอง และยังช่วยประหยัดค่าแรง หรือค่าบริการในการดูแลสระว่ายน้ำอีกด้วย
  2. มีความเป็นธรรมชาติ ปลอดภัยต่อสุขภาพคลอรีนที่ได้ออกมา ไม่ทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง และไม่ค่อยมีกลิ่นคลอรีนติดตามตัวหลังว่ายน้ำ ยังช่วยไม่ทำให้แสบผิว ลดความระคายเคืองต่อดวงตา ไม่ทำให้ตาแดง ไม่ทำให้ผมแห้งแข็งกระด้าง
  3. ดูแลรักษาง่าย เพียงคุณเปิดระบบหมุนเวียนสระว่ายน้ำ และตั้งเวลาให้ทำงานอัตโนมัติ เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดระยะเวลาการดูแลไปได้อีกเยอะ แถมยังสะดวก และใช้งานง่ายอีกด้วย
  4. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณสมบัติของเกลือที่ใช้ มีความบริสุทธิ์ถึง 99.9% ทำให้สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังไม่มีสิ่งปนเปื้อนตกค้างในสระว่ายน้ำอีกด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับบทความในครั้งนี้ เนื่องมาจากว่าในปัจจุบัน ทางเรื่องเพื่อสุขภาพ กำลังเป็นที่นิยม และข้อเสียของระบบการฆ่าเชื้อโรคโดยใช้คลอรีนแบบเคมี จนทำให้ระบบเกลือนั้นเกิดการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มศึกษาหาข้อมูลกันอย่างมาก และในครั้งนี้ก็หวังว่า หลายๆคนคนได้รู้จกกับการทำงานของระบบเกลือกันมากยิ่งขึ้น และพบกันในบทความครั้งต่อไปค่ะ

สนใจติดต่อ เวิลด์พูลส์ ดีเวลล็อปเมนท์ ผู้นําด้านการจําหน่าย อุปกรณ์สระว่ายน้ำทุกยี่ห้อ Emaux , Astral Pool Hayward , Raion , Jacuzzi , Kripsol , Pool & Spa , Dolphin ด้วยความหลากหลาย Brand ของสินค้าและแต่ละประเภทของสินค้า ถังกรองสระว่ายน้ำ ปั๊มสระว่ายน้ำ เครื่องเกลือสระว่ายน้ำ ไฟใต้น้ำ Fitting อุปกรณ์ทำความสะอาดสระว่ายน้ำ เครื่องดูดตะกอนอัตโนมัติ และ เคมีสระว่ายน้ำ คลอรีน 90 % คลอรีน 70 % น้ำยากำจัดตะไคร่น้ำ Swimtrine Pooltrine  สารตกตะกอน ทำให้น้ำสระว่ายน้ำใส  สารพัดด้านเคมี เวิลด์พูลส์ ดีเวลล็อปเมนท์ พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน