ทำไมต้องใส่ “คลอรีน” ในสระว่ายน้ำ

คลอรีนคืออะไร ?

คลอรีน เป็นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง ถูกนำมาใช้สำหรับการฆ่าเชื้อโรค และนำไปใช้ในด้านต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ตลอดจนสาธารณสุข ที่เห็นได้ชัดคือการนำมาเป็นสารในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ของขบวนการผลิตน้ำดื่ม-น้ำใช้ ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ ในตลาดสดหรือครัวเรือน รวมทั้งใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่างๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสระว่ายน้ำ

คลอรีนที่ใช้โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ

  1. คลอรีนที่มาในรูปแบบก๊าซ
  2. คลอรีนที่มาในรูปแบบน้ำ
    – โซเดี่ยมไฮโปคลอไรท์ ( คลอรีนน้ำ )
    – คลอรีนเหลว ( Liquid Chlorine )
    – น้ำยาฟอกขาว (Liquid Calcium Hypo
  3. คลอรีนที่มาในรูปแบบของแข็ง
    – แคลเซี่ยม ไฮโปคลอไรท์
    – โซเดี่ยมไดคลอโร ไอโซไซยานูเรท ( DCCNa )
    – ไตรคลอโรไอโซไซยานูริคแอซิด

คลอรีน ในสระว่ายน้ำ

สระว่ายน้ำ ได้มีการนำสารคลอรีนมาผสมในน้ำ เพื่อช่วยฆ่าจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคต่างๆ เพราะในแต่ละวันจะมีคนจำนวนมากมาว่ายน้ำ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีจุลินทรีย์จากร่างกาย เช่น เหงื่อ ขับออกมาทำให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ ทั้งนี้ปริมาณคลอรีนในสระว่ายน้ำที่ใช้จะมีปริมาณ 0.6 – 1.0 ส่วนในล้านส่วน แต่ในปัจจุบัน ผู้ดูแลสระว่ายน้ำได้นำคลอรีนมาใส่ในปริมาณที่เกินมาตรฐาน หรือไม่ก็นำสารประกอบคลอรีนอื่นๆ มาใช้ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้ใช้บริการได้ง่าย ยิ่งเข้าหู ตา จมูก ก็อาจจะทำให้เกิดปฏิกิริยา เกิดการสะสมในร่างกายได้

ค่ามาตรฐานของคลอรีนในสระว่ายน้ำ

  • สำหรับสระว่ายน้ำ0 PPM
  • สำหรับสระบริการ 5-2.0 PPM

ค่ามาตรฐานของกรด-ด่างในสระว่ายน้ำ

  • สำหรับสระว่ายน้ำทั่วไป ควรควบคุมให้อยู่ที่ pH 7.4 (หรืออยู่ระหว่างค่า pH 7.2-7.6)

*** หากค่า pH ต่ำกว่ามาตรฐาน ค่าน้ำมีความเป็นกรด
แต่ถ้าค่า pH สูงกว่ามาตรฐาน ค่าน้ำมีความเป็นด่าง

การเติมคลอรีนในสระว่ายน้ำ

ควรวัดค่าคลอรีนก่อนทุกครั้ง การเติมคลอรีน จะเติมในเวลาหัวค่ำ เนื่องจากในเวลากลางวันน้ำจะมีอุณหภูมิสูงส่งผลให้คลอรีนระเหยตัวไว “NISSAN” T.C.C.A.90 (คลอรีน 90%) ใส่ทุกๆ คืน ในอัตราส่วน 300 กรัมต่อน้ำ 100 คิว จะได้คลอรีนประมาณ 1.0-1.5 PPM เมื่อวัดค่าคลอรีนในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น แนะนำให้รักษาค่าคลอรีนไว้ไม่ให้ต่ำกว่า 1.0 PPM เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. เช้าของทุกๆ วัน ในกรณีค่าคลอรีนไม่ถึงค่าที่กำหนดให้ปรับปริมาณคลอรีนที่เติมมากน้อยตามความเหมาะสม

โดยปกติเรามักต้องเติมคลอรีนทุกวัน เนื่องจากสภาวะแวดล้อมพบฝุ่นละอองและเชื้อแบคทีเรียมากมาย รวมถึงตะไคร่น้ำ ซึ่งอาจเกิดการฟักตัวในสระว่ายน้ำ ทำให้น้ำขุ่นมัว รวมถึงละอองโลหะและใบไม้ทำให้น้ำเปลี่ยนสีได้ คลอรีนจึงทำหน้าที่ฆ่าเชื้อและฟอกสีให้จางลงทำให้น้ำใสสะอาด

ประโยชน์และโทษของคลอรีน

  • คลอรีนถือว่าเป็นสารที่มีความปลอดภัยสูงเพราะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ทำให้น้ำใสสะอาด ปลอดเชื้อ และสามารถสลายตัวได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ต้องใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
  • หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพถึงชีวิต เช่น ตา จมูก ผิวหนัง เมื่อสัมผัสคลอรีนจะอักเสบและบวมพอง ถ้าสูดดมจะทำให้เกิดอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก เจ็บคอ แน่นหน้าอก
  • ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ ทำยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทำสีผสมอาหาร ยาฆ่าแมลง สี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พลาสติก เวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น
  • ในทางเคมีอินทรีย์ ใช้ธาตุนี้ในปฏิกิริยาออกซิเดชันและปฏิกิริยาแทนที่ เมื่อเข้าไปแทนที่ไฮโดรเจนจะได้ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์
  • ใช้ในการผลิตคลอเรต เช่น คลอโรฟอร์ม คาร์บอน เตตระคลอไรด์ และใช้ในการสกัดโบรมีน

แต่จะทราบได้อย่างไรว่าคลอรีนที่ใส่ไปจะตรงตามมาตรฐานที่กำหนดของสระว่ายน้ำ ? สิ่งจำเป็นที่จะต้องมีคือ เครื่องวัดค่าคลอรีน เป็นเครื่องตรวจสอบความเข้มข้นของคลอรีนในน้ำ รายงานผลในหน่วยมิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L หรือ PPM) การวัดหาปริมาณคลอรีนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือคลอรีนรวมทั้งหมดและคลอรีนอิสระ

 

 

 

 

 

                                                                               

 

นอกจากใส่คลอรีนในสระว่ายน้ำโดยตรงแล้ว ยังมีสระน้ำแบบอื่น ๆ ที่ใสสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แถมยังเหมาะสำหรับการว่ายน้ำอีกหลายแบบ เราไปดูกันเลยรู้จักกันเลยกว่ามีแบบไหนบ้าง

สระน้ำเกลือ (Salt Sanition System)

เป็นสระน้ำที่เพิ่มเกลือธรรมชาติลงไปละลาย แต่จะมีเครื่องแยกที่ใช้กระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ เพื่อแยกโซเดียมไอออน Na+ และคลอไรด์ไอออน Cl–  ให้จับตัวเกิดสารใหม่ในรูป HClO (Hypochlorous acid) และ NaClO (Sodium Hypochlorite) เพื่อทำงานให้คล้ายกับระบบที่มีคลอรีนโดยตรง

สระโอโซน (Ozone Pool System)

เป็นสระน้ำที่ทำงานร่วมกับคลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคได้ดีพอ ๆ กับสระคลอรีนที่เป็นระบบคลอรีนอย่างเดียว เพราะมีความสามารถพอ ๆ กันในเรื่องการพบสารตกค้างจากการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ

สระยูวี (UV Pool Treatment)

ยูวีทำงานร่วมกับคลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคได้ดี ทั้งยังเป็นสระน้ำที่ดีต่อสุขภาพปอดมาก เพราะยูวีจะช่วยกำจัดการเกิดสารตกค้างจากการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจได้เป็นอย่างดี

 

“สามารเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่ รู้หรือไม่? ระบบบำบัดน้ำที่นิยมใช้ในสระว่ายน้ำมีอะไรบ้าง

 

สรุปได้ว่า คลอรีนเป็นสารเคมีพื้นฐานที่ใช้ในการรักษาสภาพของสระว่ายน้ำได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะมีนวัตกรรมใหม่ของสระว่ายน้ำอื่น ๆ เกิดขึ้น ทำให้สระว่ายน้ำดีต่อสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีความสะอาดมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังต้องอาศัยคลอรีนเพื่อให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

 

บริษัท เวิลด์พูลส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

261/5 ถ.มหิดล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
053-204 446-7
095-6815757
053-204 465
worldpoolscnx@gmail.com