การวัดค่า pH ในสระว่ายน้ำ สู่สระน้ำที่สะอาดและปลอดภัย

การวัดค่า pH ในสระว่ายน้ำ สู่สระน้ำที่สะอาดและปลอดภัย คือตัวบ่งชี้ความเป็นกรด-ด่างของน้ำในสระว่ายน้ำ การรักษาค่า pH ให้สมดุลเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของคลอรีน ความใสของน้ำ และความสะดวกสบายในการว่ายน้ำ

ทำไมต้องวัดค่า pH?

  • ประสิทธิภาพของคลอรีน: ค่า pH ที่เหมาะสมจะช่วยให้คลอรีนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค
  • ป้องกันการระคายเคือง: ค่า pH ที่ไม่สมดุล อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา
  • รักษาอุปกรณ์ในสระ: ค่า pH ที่ต่ำเกินไป อาจทำให้เกิดการกัดกร่อนของอุปกรณ์ในสระ
  • ความใสของน้ำ: ค่า pH ที่เหมาะสมจะช่วยให้น้ำในสระใสสะอาด

ค่า pH ที่เหมาะสมสำหรับสระว่ายน้ำ

โดยทั่วไป ค่า pH ที่เหมาะสมสำหรับสระว่ายน้ำจะอยู่ระหว่าง 7.2-7.6 ซึ่งถือว่าเป็นค่ากลาง

  • ค่า pH ต่ำกว่า 7.2: น้ำจะมีสภาพเป็นกรด อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา และทำให้คลอรีนสลายตัวเร็วขึ้น
  • ค่า pH สูงกว่า 7.6: น้ำจะมีสภาพเป็นด่าง อาจทำให้คลอรีนทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และทำให้เกิดตะกอนในน้ำ

วิธีการวัดค่า pH

มีหลายวิธีในการวัดค่า pH ของน้ำในสระว่ายน้ำ ได้แก่

  • ชุดทดสอบค่า pH: เป็นชุดทดสอบแบบง่ายๆ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์สระว่ายน้ำ โดยทั่วไปจะมาพร้อมกับสารเคมีสำหรับตรวจสอบค่า pH และตารางเปรียบเทียบสีเพื่ออ่านค่า
  • เครื่องวัดค่า pH แบบดิจิตอล: เป็นเครื่องมือที่ให้ค่าที่แม่นยำกว่าชุดทดสอบ แต่มีราคาสูงกว่า

ขั้นตอนการวัดค่า pH

  1. เก็บตัวอย่างน้ำ: ตักน้ำจากสระในระดับความลึกประมาณ 1 ฟุต
  2. หยดสารเคมี: หยดสารเคมีที่มากับชุดทดสอบลงในตัวอย่างน้ำ
  3. เปรียบเทียบสี: เปรียบเทียบสีของน้ำกับตารางสีที่ให้มา เพื่ออ่านค่า pH

การปรับค่า pH

  • ค่า pH ต่ำกว่า 7.2 (เป็นกรด): ใช้โซดาแอช (Sodium Bicarbonate) เพื่อเพิ่มค่า pH
  • ค่า pH สูงกว่า 7.6 (เป็นด่าง): ใช้กรดเกลือ (Hydrochloric Acid) เพื่อลดค่า pH

ข้อควรระวัง:

  • ปริมาณที่ใช้: ควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด
  • ความปลอดภัย: สวมใส่ชุดป้องกัน เช่น ถุงมือ แว่นตา และหน้ากาก ป้องกันสารเคมีสัมผัสกับผิวหนังและดวงตา
  • การผสมสารเคมี: ห้ามผสมสารเคมีชนิดต่างๆ เข้าด้วยกันโดยตรง อาจเกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายได้

สระว่ายน้ำเป็นสถานที่เพื่อสร้างความเพลิดเพลินบันเทิงใจทำให้รู้สึกผ่อนคลายเมื่ออ่อนล้าจากการทำงาน หรือจากการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเป็นกิจกรรมเพื่อการออกกำลังกาย ไม่เพียงเท่านั้นแต่ยังเป็นพื้นที่แห่งความสุขของสมาชิกทุกคนในบ้านที่มาใช้ชีวิตร่วมกันอีกด้วย เมื่อมีการใช้งานสระว่ายน้ำก็ต้องมีการดูแลรักษาเพราะสระว่ายน้ำไม่ว่าจะตั้งอยู่ในพื้นที่ร่มหรือที่โล่งแจ้งก็มักจะพบสารเคมีปนเปื้อนอยู่ด้วยเสมอ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาวดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้ค่า pH ในสระว่ายน้ำ

จุดประสงค์ของการใส่สารเคมีในสระว่ายน้ำคือเพื่อฆ่าเชื้อโรค และควบคุมคุณภาพของน้ำให้ได้ตรงตามมาตราฐานของน้ำในสระว่ายน้ำที่ดี

โดยต้องทำการตรวจวัดและควบคุมค่า pH หรือค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ

ค่าคลอรีน CL มาตรฐานในสระว่ายน้ำ

  • สำหรับสระในบ้าน 1.0 PPM
  • สำหรับสระบริการ 1.5 – 2.0 PPM

ค่า pH มาตรฐานในสระว่ายน้ำ

  • ค่า pH สำหรับสระว่ายน้ำทั่วไป ควรจะมี pH 7.4 (หรืออยู่ระหว่าง 7.2 – 7.6)
  • ถ้า pH ต่ำกว่ามาตรฐาน ค่าน้ำมีความเป็นกรด
  • ถ้า pH สูงกว่ามาตรฐาน ค่าน้ำมีความเป็นด่าง

การอ่านค่า pH จากเครื่องวัดค่า ความเป็นกรด-ด่าง

·       ค่า pH สูงน้ำจะเป็นด่าง

·       ค่า pH ต่ำน้ำจะเป็นกรด

·       ค่า pH มาตรฐาน สระว่ายน้ำ อยู่ที่ 7.2-7.4

·       กรดเกลือ = กรด = ค่า pHต่ำ   ถ้าน้ำเป็นด่างต้องเติมกรดเกลือ

·       โซดาแอส = ด่าง =ค่า pHสูง  ถ้าน้ำเป็นกรดต้องเติมโซดาแอส

·       คลอรีน  =  กรด  =  ค่า pHต่ำ   ใช้ฆ่าเชื้อโรค 

·       ค่าที่เหมาะสำหรับสระว่ายน้ำ อยู่ที่ 2-3 ppm   ครั้งแรก ควรเติมน้ำให้เต็ม แล้ววัดค่า  ได้ 30-40 ppm   ทิ้งข้ามคืนจนค่าลดลงเหลือ 2-3 ppm  ถึงจะสามารถลงว่ายน้ำได้

·       อะกรีไซด์(Algrecide) = น้ำยากำจัดตะไคร่น้ำครั้งแรกเติม  2 ลิตร/100 คิว  เติมเป็นประจำทุกอาทิตย์ 0.5 ลิตร/100 คิว

·       เกลือบริสุทธิ์ (Refine Salt) =  ใช้กับระบบเกลือให้เครื่องแปลงเกลือเป็นคลอรีนน้ำ  1  คิว  = เกลือ 4 กิโลกรัม  ,  1 ปีเต็มเพิ่ม 10% บนเครื่องแปลงคลอรีนจะมีตัววัดค่าคอยบอกถ้าปริมาณเกลือน้อย

ปรับค่า pH ในสระว่ายน้ำ

ค่า pH มาตรฐานสำหรับสระว่ายน้ำทั่วไปควรจะมี pH = 7.4 หรืออยู่ระหว่าง 7.2 -7.6

  • ค่า pH ต่ำกว่า 7.2 (เป็นกรด) จะเป็นผลให้คลอรีนสลายตัวอย่างรวดเร็วและเกิดการกัดกร่อนมากขึ้นทั้งยังทำให้แสบตาเมื่อเล่นน้ำ โดยเฉพาะสระที่ใช้คลอรีนเป็นหลัก (TCCNA90)
    • วิธีแก้ไข : ใช้โซดาแอซ ปริมาณ 1 กิโลกรัม ต่อ น้ำในสระ 100 ลบ.ม. (แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าความเป็นกรดมากหรือเป็นกรดน้อย ถ้าค่าน้ำเป็นกรดมาก เช่น 6.0 – 6.8 ต้องเพิ่มปริมาณการใช้โซดาแอซ)
  • ค่า pH สูงกว่า 7.6 (เป็นด่าง) จะเป็นผลให้ประสิทธิภาพของคลอรีนลดลงจะเกิดตะกอน น้ำจะขุ่น และแสบตาเช่นกันโดยเฉพาะสระที่ใช้เกลือเป็นหลัก
    • วิธีแก้ไข : ใช้กรดเกลือ (HCl) หรือ (NaHSO4) ปริมาณ 1 ลิตร ต่อ น้ำในสระ 100 ลบ.ม. (แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าความเป็นด่างมากหรือเป็นด่างน้อย ถ้าค่าน้ำเป็นด่างมาก เช่น 7.6 – 8.0 ต้องเพิ่มปริมาณการใช้กรดเกลือ)แถบแสดงค่า pH

 

 

                                                                                                           

 

 

ตารางแสดงค่ามาตรฐานของน้ำในสระว่ายน้ำ สำหรับสระว่ายน้ำคลอรีน

พารามิเตอร์ ค่าที่เหมาะสมสำหรับ
สระว่ายน้ำส่วนตัว
ค่าที่เหมาะสมสำหรับ
สระว่ายน้ำสาธารณะ
คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) 1.0 ppm 1.5 – 3.0 ppm
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 7.2 – 7.6 7.2 – 7.6
ความเป็นด่าง (Total Alkalinity) 80 – 150 ppm 80 – 150 ppm
ความกระด้างของน้ำ
(Total Hardness)
200 – 400 ppm 200 – 400 ppm
กรดไซยานูริก (Cyanuric acid) 20 – 40 ppm 20 – 40 ppm

 

ตารางแสดงค่ามาตรฐานของน้ำในสระว่ายน้ำ สำหรับสระว่ายน้ำเกลือ

พารามิเตอร์ ค่าที่เหมาะสมสำหรับ
สระว่ายน้ำส่วนตัว
ค่าที่เหมาะสมสำหรับ
สระว่ายน้ำสาธารณะ
คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) 1.0 ppm 1.5 – 3.0 ppm
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 7.2 – 7.6 7.2 – 7.6
ความเป็นด่าง (Total Alkalinity) 80 – 150 ppm 80 – 150 ppm
ความกระด้างของน้ำ
(Total Hardness)
200 – 400 ppm 200 – 400 ppm
ความเข้มข้นของเกลือ
(Salt level)
3500 – 4000 ppm 3500 – 4000 ppm

           

 

 

บริษัท เวิลด์พูลส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

261/5 ถ.มหิดล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
053-204 446-7
095-6815757
053-204 465
worldpoolscnx@gmail.com